Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

บีเกิล (Beagle) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

บีเกิล (Beagle) จัดอยู่ในจำพวกกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ (Hound) เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ และสามารถพบเจอได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศอังกฤษ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ชาวอังกฤษนิยมเพาะมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง คุณสมบัติและความสามารถพิเศษที่โดดเด่นของบีเกิลอย่างหนึ่ง คือ มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวอย่างสูงในการไล่ล่า และแกะรอยกระต่ายป่า ดังนั้น นายพรานส่วนใหญ่จึงมักพาบีเกิลออกไปเป็นฝูง ๆ แต่เช้ามืด

Read More »

ปอมเมอเรเนียน ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ปอมเมอเรเนียน ตัวเล็ก ขนฟู และหน้าแหลม เป็นลักษณะอันโดดเด่นของ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน ที่เป็นลูกรัก และเป็นสายพันธุ์ยอดนิยม ที่ครองใจเหล่าบรรดาที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์เล็ก ประวัติ สุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน สุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian)

Read More »

ชิสุ (Shih Tzu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

สุนัขพันธุ์ ชิสุ จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดมาจากทิเบต และเป็นพันธุ์ที่นิยมในประเทศจีน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ชิสุ มีความหมายว่าเป็นสิงโตน้อย (Little lion) หรือสุนัขตัวเล็ก (Little dog) ในประเทศจีน สุนัขพันธุ์ชิสุ มีลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง

Read More »

ปอมเมอเรเนียน ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ปอมเมอเรเนียน ตัวเล็ก ขนฟู และหน้าแหลม เป็นลักษณะอันโดดเด่นของ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน ที่เป็นลูกรัก และเป็นสายพันธุ์ยอดนิยม ที่ครองใจเหล่าบรรดาที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์เล็ก

ประวัติ สุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน

สุนัขพันธุ์ ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian) มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 16 จากแคว้นปอมเมอเรเนีย (Pomerania) แถบทะเลบอลติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมันตะวันออกและโปแลนด์ในปัจจุบัน โดยบรรพบุรุษของปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่อยู่ในตระกูลสปิตซ์ (Spitz) รวมถึงสุนัขสายพันธุ์นอร์วีเจียน เอลก์ฮาวด์ (Norwegian Elkhound), ชิปเพิร์ก (Schipperke), เยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz), อเมริกัน เอสกิโม (American Eskimo) และซามอยด์ (Samoyed) สุนัขเหล่านี้ทั้งหมดมีลักษณะที่โดดเด่นเหมือนกัน คือมีหน้าที่ยื่น, หูตั้งและขนยาวหนา ในอดีต ปอมเมอเรเนียน ถูกเพาะพันธุ์ให้เป็นสุนัขลากเลื่อนและมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ ตั้งแต่ปอมได้รับการแนะนำให้เป็นที่รู้จักในฐานะสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน สายพันธุ์ปอมเมอเรเนียนจึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นเจ้าของสุนัขปอมเมอเรเนียน ได้แก่ นักศาสนศาสตร์มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther), จิตรกรไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) และนักฟิสิกส์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton)

ปอมถูกย้ายมาที่ประเทศอังกฤษเมื่อตอนสมัยที่เจ้าหญิงโซฟี ชาร์ล็อตต์ (Sophie Charlotte) จากอาณาเขตใกล้กับปอมเมอเรเนียได้อภิเษกกับเจ้าชายแห่งอังกฤษ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ถูกสถาปนาเป็นเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้มีการกล่าวกันว่าหลานสาวของพวกเขาผู้ ซึ่งต่อมากลายเป็นราชินีวิคตอเรียได้ทำการผสมพันธุ์สุนัขที่แตกต่างกันสิบห้าสายพันธุ์ ในระหว่างการครองราชย์ และปอมเมอเรเนียนก็เป็นหนึ่งในสุนัขสายพันธุ์โปรดของราชินีวิคทอเรียด้วย ในปี 1888 ในระหว่างการเดินทางไปอิตาลีของพระราชินีวิกตอเรียได้พบกับปอมเมอเรเนียนที่มีขนาด 12 ปอนด์และรู้สึกตกหลุมรัก จึงเชื่อกันว่าปอมเมอเรเนียนในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการที่พระราชินีวิกตอเรียได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ให้ปอมเมอเรเนี่ยนมีขนาดที่เล็กลง

ลักษณะทางกายภาพ

ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 1.9–3.5 กิโลกรัม (4.2–7.7 ปอนด์) และสูง 5.0–11 นิ้ว (13–28 ซม.) โดยวัดจากส่วนสูงที่สุดของหลัง ปอมเป็นสุนัขที่มีขนาดกะทัดรัดแต่มีความแข็งแรง ขนแน่นหนา มีขนเป็นพุ่มอยู่บริเวณรอบ ๆ คอและหลัง โคนหางตั้งสูงและแนบไปกับหลัง ตัวอย่างของการผสมพันธุ์ในรุ่นแรก ๆ ปอมมีขนเป็นสีขาวหรือบางครั้งเป็นสีดำ โดยในปี 1888 ราชินีวิกตอเรียนำปอมเมอเรเนียนสีแดงขนาดเล็กมาเลี้ยงจึงทำให้สีแดงกลายเป็นที่นิยมในปลายของศตวรรษที่ 19 โดยในยุคปัจจุบันปอมเมอเรเนียนมีสีขนที่หลากหลายมากกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ สีขาว, สีดำ, สีน้ำตาล, สีแดง, สีส้ม, สีครีม, สีน้ำเงิน, สีน้ำตาลเข้ม, สีน้ำตาลผสมสีแทน, สีดำผสมสีแทน และสีที่แซมกันสองสี โดยสีที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือสีส้ม, สีดำ และสีครีม/สีขาว

ปอมเมอเรเนียนลายหินอ่อน (merle) เป็นสีที่ผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาขึ้นมาล่าสุด เป็นการรวมกันของสีพื้นที่เป็นสีอ่อน เช่น สีน้ำเงิน, สีเทา แต้มด้วยรอยด่าง โดยแต้มสีที่พบบ่อยที่สุด คือสีแดง, สีน้ำตาล หรือสีดำ ส่วนสีที่ไม่เป็นที่ยอมรับภายใต้มาตรฐานสายพันธุ์ เช่น ลายเสือหินอ่อน (brindle merle) หรือ สีน้ำตาลเข้มลายหินอ่อน (liver merle) ลายหินอ่อนในปอมเมอเรเนียนจะมีสีของตา, จมูกและอุ้งเท้าที่มีความแตกต่างกัน โดยส่วนของตาจะมีสีฟ้า ส่วนจมูกและอุ้งเท้าจะเป็นรอยด่างสีชมพูและสีดำ ปอมเมอเรเนียนมีขน 2 ชั้นที่หนาซึ่งทำความสะอาดได้ไม่ยาก เนื่องจากความหนาของขนและมีการผลัดขนอยู่เป็นประจำจึงแนะนำให้ทำความสะอาดทุกวัน โดยขนชั้นนอกมีลักษณะยาวตรงและหยาบ ในขณะที่ขนชั้นในนิ่มหนาและสั้น ขนของปอมมักเป็นกระจุกและพันกันได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผลัดขนชั้นในซึ่งจะเกิดขึ้นปีละสองครั้ง

อายุขัย

โดยทั่วไปอายุขัยของปอมเมอเรเนียนอยู่ในช่วงระหว่าง 12-15 ปี

ลักษณะนิสัย

ปอมเมอเรเนียนชอบที่จะพบปะผู้คนและเพื่อนใหม่ ๆ แต่บางครั้งพบว่าปอมมักคิดว่ามันตัวใหญ่กว่าความเป็นจริง หากปอมเมอเรเนียนของคุณเริ่มยั่วโมโหสุนัขตัวใหญ่ให้หยุดมันทันที ปอมอาจคิดว่ามันสามารถรับมือกับสุนัขตัวใหญ่ได้แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่สามารถทำได้ ซึ่งเป็นลักษณะของปอมเมอเรเนียนที่มีความตื่นตัวและเห่าอะไร ๆ ที่ไม่ปกติ เมื่อลูกสุนัขคลอดออกมาและนำไปอยู่กับพ่อแม่ของมันจะทำให้สุนัขมีลักษณะขี้อายหรือก้าวร้าวซึ่งจะมีผลทำให้สุนัขไม่รู้จักโต

การเข้ากับเด็ก

ถึงแม้ว่าปอมเมอเรเนียนจะชอบเข้าสังคมแต่ไม่แนะนำให้สุนัขอยู่กับเด็กเล็ก เนื่องจากหลายครั้งที่เด็กเล็กไม่เข้าใจว่าปอมมีร่างกายที่บอบบางและอาจทำให้สุนัขได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นถ้าหากมีปอมเมอเรเนียนอยู่กับเด็กเล็กให้ระมัดระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด

การดูแล

การออกกำลังกาย

เนื่องจากปอมเป็นสุนัขขนาดเล็กจึงมักที่จะได้ออกกำลังกายภายในบ้าน สิ่งที่สำคัญสำหรับสุขภาพของปอมคือการได้ใช้เวลาในการเดินเละเล่นเป็นเวลาสั้น ๆ ในทุก ๆ วัน โดยในช่วงฤดูร้อนให้ร่นระยะเวลาการเดินให้สั้นลงเนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิของร่างกายสุนัขสูงเกินไป สายพันธุ์นี้ชอบเล่นของเล่นดังนั้นคุณควรจะมั่นใจว่ามีของเล่นมากมายให้ปอมได้รับความเพลิดเพลิน

อาหาร

อาหารที่แนะนำสำหรับปอมเมอเรเนียนควรมีปริมาณ ¼-½ ถ้วยในแต่ละวัน โดยแบ่งออกเป็นสองมื้อ การปรับปริมาณอาหารของสุนัขขึ้นอยู่กับอายุและการทำกิจกรรมในแต่ละวัน หากสุนัขมีน้ำหนักเกินอาจทำให้เกิดแรงกดบนแขนขาและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้

โรคประจำสายพันธุ์

  • โรคผิวหนัง
    • โรคผิวหนังดำ (Black skin หรือ alopecia X)
  • โรคภูมิแพ้ (Allergies)
    • โรคระบบทางเดินอาหาร
    • โรคปริทันต์ (periodontal disease)
  • โรคหัวใจ
    • โรคลิ้นหัวใจไมทรัลรั่ว (Mitral regurgitation)
  • โรคระบบประสาท
    • ภาวะผิดปกติของรอยต่อกะโหลกกับกระดูกคอ (Alantoaxial instability)
    • ภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)
    • โรคลมชัก (Epilepsy)
    • โรควิตกกังวล (Anxiety)
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
    • โรคท่อลมตีบ (tracheal collapse)
    • โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
  • โรคระบบกระดูก เอ็น และข้อต่อ
    • โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน (Patellar Luxation)
    • โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือด (Legg-Perthes Disease)
    • โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip Dysplasia)
  • โรคตา
    • การติดเชื้อที่ตา (Eye Infections) ปอมเมอเรเนียน

บทความที่เกี่ยวข้อง